อาการ Side Stitch อาการปวดท้องเฉียบพลันขณะวิ่ง

by admin
อาการ Side Stitch อาการปวดท้องเฉียบพลันขณะวิ่ง Side Stitch คืออาการจุกเสียดบริเวณท้องขณะที่วิ่ง หรือออกกำลังอย่างเช่นว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน

อาการ Side Stitch อาการปวดท้องเฉียบพลันขณะวิ่ง

 Side Stitch คือ อาการจุกเสียดบริเวณท้องขณะที่วิ่ง หรือ ออกกำลังอย่างเช่นว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือขี่ม้า ซึ่งจะรู้สึกจุก เจ็บปวดขึ้นมาแบบกะทันหัน คล้าย ๆ ถูกอะไรแหลม ๆ แทงเข้าบริเวณท้องด้านขวาล่าง แถว ๆ ใต้ซี่โครงจนวันนั้นต้องหยุดวิ่งไปเลย

สาเหตุของ อาการ Side Stitch ก็เป็นได้หลายอย่าง ไม่ว่าการทานอาหารก่อนออกกำลังกายไม่ถูกหลัก ที่ถือว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดท้องชั่วขณะที่วิ่งหรือออกกำลังกาย

อาการ Side Stitch อาการปวดท้องเฉียบพลันขณะวิ่ง

มีงานวิจัยงานหนึ่งพบว่าการดื่มน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรตสูง ในช่วงก่อนออกกำลังกาย หรือในระหว่างออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อ อาการ Side Stitch หรือปวดท้องชั่วคราวได้ แต่หากนักวิ่งดื่มน้ำเปล่า หรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่ (ในปริมาณที่พอดี) ความเสี่ยงในต่ออการจุกเสียดก็จะมีน้อยกว่า

เท่านั้นยังไม่พอควรระวังอาหารประเภทโปรตีนด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โปรตีนบาร์ โปรตีนเชค นม หากไม่จากปวดท้องขณะวิ่งก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน

ปัจจัยต่อมาก็เป็นเรื่องของ อายุ และเพศ มีการพบว่านักวิ่งที่อายุน้อย เด็ก วัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ จะมีโอกาสเกิด อาการ Side Stitch มากกว่า ผู้สูงอายุ (อายุยิ่งมากความเสี่ยงยิ่งน้อย) และยังพบว่าอาการนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การเคลื่อนไหวลำตัวที่รวดเร็ว และซ้ำไปซ้ำมา จะทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณหน้าท้องเกิดการเสียดสีกับเส้นเอ็น ส่งผลให้เกิดการกระตุก เส้นประสาทอักเสบ จนเกิดอาการปวดฉับพลันได้

การหายใจออกที่นักวิ่งส่วนมากจะหายใจออกทุก ๆ 2-4 ก้าว ซึ่งการหายใจออกในจังหวะที่ลงด้วยเท้าขวาจะส่งผลให้เกิดแรงกดที่ตับ และทำให้กะบังลมยกสูงขึ้นเพื่อดันตับให้ต่ำลง เมื่อเป็นเช่นนี้เส้นเอ็นในท้องจะมีการยืดตัว ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดท้องได้

การรักษา

หากวิ่งอยู่แล้วเกิดอาการจุกเสียดปวดท้อง ให้หยุดวิ่งทันที บรรเทาอาการปวดด้วยการยืดลำตัว ด้วยการยกแขนขวาขึ้นพร้อมกับเอนไปทางซ้าย แล้วค้างไว้ 25-30 วินาที แล้วจึงสลับไปทำกับแขนซ้ายในลักษณะเดียวกัน แล้วรออาการสักครู หากไม่ทุเลาก็ควรไปหาหมอเพื่อทำการรักษาจะดีกว่า

การป้องกัน

ให้ ปรับจังหวะการหายใจ กับจังหวะการก้าวเท้า โดยให้การหายใจจังหวะ 1-2 ไปเรื่อย ๆ จะทำให้ความเครียดที่หน้าท้อง กับลำตัวลดลงได้

ก่อนออกไปวิ่งไม่ควรจะทานอาหารหนัก ๆ ในหมวดหมู่ที่เป็น โปรตีน, เครืองดื่มที่มีกรดอัดแก๊ส, คาร์โบไฮเดรต และโซเดียม

การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับแกนกลางของลำตัวเป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกัน อาการ Side Stitch ได้ดีเช่นกัน


You may also like

Leave a Comment