สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเพื่อให้การวิ่งดีขึ้น

by admin
สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเพื่อให้การวิ่งดีขึ้น เริ่มต้นอย่างช้า ๆโดยธรรมชาติแล้ว เรามีแรงจูงใจอย่างมากในตอนเริ่มออกไปวิ่ง

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเพื่อให้การวิ่งดีขึ้น

สิ่งที่ควรทำ

  1. เริ่มต้นอย่างช้า ๆ

โดยธรรมชาติแล้ว เรามีแรงจูงใจอย่างมากในตอนเริ่มออกไปวิ่ง และต้องการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ให้เร็วที่สุด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ? หากเริ่มต้นเร็วเกินไป หรือมีการข้ามขั้นตอนและ โดยออกแรงมากไป สิ่งที่ตามก็คืออาการเจ็บปวดเป็นราคาที่ต้องจ่ายจากการหักโหม  ร่างกายของเราต้องการเวลาเพื่อในการปรับตัว และสร้างความแข็งแรง ดังนั้นให้วิ่งในกิโลเมตรแรกด้วยความเร็วปานกลาง ในระดับที่สนทนาพูดคุยได้ (โซน 2) วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นเรื่อย ๆ และไม่บาดเจ็บ

  1. เพิ่มความหลากหลายให้กับการวิ่ง

หากคุณวิ่งวนแบบเดิมด้วยความเร็วเท่าเดิม เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง คุณจะหยุดการพัฒนา ดังนั้นควรเริ่มวิ่งในโซนที่แตกต่าง มีความเข้มข้นมากขึ้น คุณสามารถท้าทายร่างกายของคุณด้วยวิธีใหม่ ๆ ด้วยการวิ่งออกกำลังกายที่หลากหลาย เช่น การวิ่งแบบเน้นความเร็ว และจังหวะ การวิ่งขึ้นเนิน หรือการวิ่งบนพื้นผิวที่แตกต่างกันบ้าง หรือจะออกกำลังกายแบบผสมผสานกับการฝึกความแข็งแรง หรือกีฬาที่จะช่วยในเรื่องของความอดทนชนิดอื่น ๆ ด้วย

  1. กำหนดวันพัก

การออกกำลังกายทุกประเภท รวมถึงการวิ่ง ต้องมีการกำหนดวันพักเพื่อให้ร่างกายได้ทำการ recovery ซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป โดยการพักนั้นอาจจะมีสัปดาห์ละ1-2 วัน แต่ไม่ควรมากกว่านี้ เพราะหากพักมากไปก็พัฒนาไม่เต็มที่ และการพักยังช่วยให้การกลับมาวิ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเพื่อให้การวิ่งดีขึ้น

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  1. ทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนออกกำลังกาย

การทานอาหารมื้อหนักก่อนออกกำลังกาย จะทำให้เลือดลงไปหล่อเลี้ยงที่กระเพาะอาหารมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดประสิทธิภาพในการวิ่ง ยังจะส่งผลให้เกิดอาการจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย หากก่อนวิ่งรู้สึกหิวควรทานอาหารเบา ๆ เช่นน้ำผลไม้ กล้วย หรือผลไม้อื่น ๆ ที่กากใยสูงจะดีกว่า

  1. ละเลยการวอร์มอัพ และยืดเหยียด

การวอร์มอัพ และยืดเหยียด ถือเป็นสิ่งที่นักวิ่งห้ามละเลยเป็นอันขาด เพราะการวอร์มอัพ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมกล้ามเนื้อและข้อต่อให้พร้อมกันวิ่ง ทำให้วิ่งดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ส่วนการยืดเหยียดหลังวิ่ง ถือเป็นการ recovery ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้พร้อมในการวิ่งในครั้งต่อไป และช่วยลดอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย

  1. ไม่ยอมเปลี่ยนรองใหม่

รองเท้าวิ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้วิ่งดีขึ้นได้มาก และยังช่วยลดอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตรองเท้าว่ายังใช้งานได้ดีอยู่ไหม ซึ่งปกติแล้ว รองเท้าวิ่งจะใช้งานได้ประมาณ 6 เดือน หรือวิ่ง 500 -600 กม. ก็ต้องเปลี่ยนแล้ว


You may also like

Leave a Comment