วิ่ง เรื่องของหัวใจ…ดูแลให้ไหวก่อนลง

by admin
ปัจจุบัน “การวิ่ง” ถือเป็นการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก วิ่ง การทำ CPR ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ

เรื่องของหัวใจ…ดูแลให้ไหวก่อนลง “วิ่ง”

                ปัจจุบัน “การวิ่ง” ถือ เป็นการออกกำลังกาย ที่ กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก หลาย ๆ ที่มี การจัดกิจกรรมอีเว้นท์ เกี่ยวกับ การวิ่งให้เลือก เข้าร่วมมากมาย ทั้งการ วิ่ง ระยะสั้น หรือ ระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือ วัยไหน ๆ ก็สามารถวิ่งได้ ขอให้เลือกตามความเหมาะสม กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

เพราะ ความทนทาน และความแข็งแรงไม่เหมือนกัน จึง ต้องประเมินตัวเองให้ได้ว่ามีความพร้อมในการวิ่งมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะ ถ้าหากคุณมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับ โรคหัวใจ และ หลอดเลือด ก็อาจจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

          หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด เพื่อ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านไปทางหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหา เรื่องระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจประเภทต่าง ๆ  ก็จะทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทำได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และ อาจส่งผลให้อวัยวะขาดเลือดได้ โดยเฉพาะถ้าหากหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจ ส่งผลทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ ดังที่มีข่าวออกมาบ่อย ๆ ว่ามีนักวิ่งเสียจากภาวะหัวใจขาดเลือด

          ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acutecoronarysyndrome : ACS) เป็นหนึ่ง ในโรคหัวใจขาดเลือด ที่พบได้บ่อย  ๆ ซึ่งจะแสดงอาการที่สำคัญ คือ เจ็บหน้าอกรุนแรงอย่างเฉียบพลัน แม้ขณะนั่งพัก ก็ยังเจ็บแน่นหน้าอก (Rest angina) นานกว่า 20 นาที เหนื่อยง่ายขณะออกแรง อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ หรือ หัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการตัวเองขณะวิ่ง ว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือหน้ามืด หรือไม่ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของร่างกาย ว่า ไม่ไหวอย่าฝืน!

             จากข้อมูลทาง สถิติ พบว่า การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในนักกีฬา พบได้ ไม่บ่อยนัก แต่มีแนวโน้ม จะพบมากขึ้นในกลุ่ม ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ที่มีโรคหัวใจ หรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และวิ่งในระยะยาว แบบ การวิ่งมาราธอน ที่จะต้อ งมีการใช้งานของกล้ามเนื้อแบบหนักหน่ว งอย่างต่อเนื่อง ยิ่งถือเป็นความเสี่ยง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งออกกำลังกาย ก็คือ ควร ที่จะตรวจเช็คร่างกาย และ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ว่า มีความเสี่ยงใด ๆ หรือไม่ รวมถึง ต้องหาค่าความหนักของการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับอายุ และ สภาพร่างกาย และ ควรที่ทราบถึงวิธีการช่วยปฐมพยาบาลพื้นฐานหากพบผู้ที่หมดสติ ขณะวิ่ง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

  • เมื่อ พบคนที่คล้ายกับหมดสติ ต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วย เช่น ระวังอุบัติเหตุ จากรถที่ขับไปมา หรือจากคนที่กำลังวิ่งอยู่ หลีกการคือผู้เข้าไปช่วยเหลือต้องมีความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก
  • เมื่อพบคนที่คล้ายกับหมดสติ แต่ ไม่แน่ใจว่าหมดสติจริงหรือไม่ สามารถตรวจสอบโดยการเรียกด้วยเสียงดังและตบไหล่ ถ้าหมดสติจริงจะไม่มีการโต้ตอบ   
  •  รีบเรียกขอความช่วยเหลือจากคนอื่น และโทรสายด้วย 1669 แจ้งอาการ สถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน พร้อมให้นำเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) มาด้วย
  • จับชีพจร หากผู้ป่วยไม่มีชีพจรให้ช่วยปั๊มหัวใจเพื่อฟื้นคืนชีพทันที ด้วยการจัดท่าผู้ป่วยนอนหงาย ประสานฝ่ามือและหลังมือเข้าหากันและวางสันมือไว้ตรงครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก เริ่มกดหน้าอกด้วยความลึก 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  • เมื่อรถกู้ชีพมาถึง ให้ส่งต่อผู้ป่วยให้ทีมเพื่อนำส่งโรงพยาบาลทันที

       หาก ปล่อยให้สมอง ขาดเลือดไปเลี้ยงมากกว่า 4 นาที จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง และ เกิดเป็นความพิการจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) คือ วิธี ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ช่วยทำให้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นการทำ CPR ที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบเพื่อนำไปใช่ช่วยชีวิตคนอื่น ๆ ในสถานการณ์ไม่คาดคิด


กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

You may also like

Leave a Comment