มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรล กัน

by admin
มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรลกัน  กับ รองเท้าวิ่งถนนแตกต่างกันยังไง Run Trail Run รองเท้าเดินป่า ไต่เขา คุณสมบัติในการรับแรงกระแทก

มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรล กับ รองเท้าวิ่งถนนแตกต่างกันยังไง

มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรลกัน  กับ รองเท้าวิ่งถนนแตกต่างกันยังไง Run Trail Run รองเท้าเดินป่า ไต่เขา คุณสมบัติในการรับแรงกระแทก

photo : RNG SPORT

 

Outsole คือพื้นล่างสุด จะมีดอกรองเท้าที่หนา และทนกว่ารองเท้าวิ่งถนน เพื่อให้มีความสามารถเกาะพื้นได้ดี และทนได้ทุกสภาพสนาม ไม่ว่าจะจะเป็นเส้นทางที่ขรุขระกันดาร ขนาดไหน ก็สามารถวิ่งได้อย่างไม่มีปัญหา

Midsole เป็นส่วนที่อยู่ถัดขึ้นมาจากพื้นล่างสุด ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใส่ที่รับแรงกระแทก ซึ่งรองเท้าวิ่งเทรลนั้นจะมีความนุ่มกว่า รองเท้าวิ่งถนน เพราะบางทีต้องมีปีนป่ายหรือกระโดดแต่ก็ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักรองเท้าที่มีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง

Upper คือส่วนบนของรองเท้า ในส่วนนี้ก็จะเป็นผ้าที่อาจจะหนากว่าแข็งแรงทนทานรองเท้าวิ่งถนน เพราะออกแบบมาให้ป้องกันการเกี่ยว ของกิ่งไม้หรือหนามต่าง ๆ เพราะบางทีก็ต้องวิ่งไปในทางรกในป่า บางรุ่นนั้นยังผลิตออกมาให้กันน้ำ และระบายอากาศได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรล แบบต่าง ๆ กันดีกว่า

แบบ Light Trail

photo : Runnercart

รองเท้าในแบบนี้ มีความแข็งแรงไม่มากนัก เพราะวัสดุที่ใช้ผลิตด้านการป้องกันเป็นแบบอ่อน Upper ของรองเท้าก็จะบาง ดอกยางของพื้นก็จะไม่ค่อยหนา โดยเป็นการเน้นไปที่น้ำหนักเบา วิ่งได้ไกล ๆ และเส้นทางไม่ลำบากมากนัก

 

แบบ Rugged Trail –

มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรลกัน  กับ รองเท้าวิ่งถนนแตกต่างกันยังไง Run Trail Run รองเท้าเดินป่า ไต่เขา คุณสมบัติในการรับแรงกระแทก

photo : Runnercart

จุดเด่นของรองเท้าประเภทนี้ก็คือเน้นป้องกันเท้าเวลาสะดุด โดยเฉพาะนิ้วเท้า เพราะในส่วนของ Upper นั้นแข็งแรงมีความกระชับกับตัวเท้าของผู้สวมใส่ สามารถปีนขึ้นที่สูงได้ดี และวิ่งทางกันดารได้หลากหลายเส้นแบบ ดอกยางพื้นรองเท้านั้นไม่ถี่มาก เมื่อวิ่งไปในพื้นดินที่เปียกแฉะ ดินโคลนที่ติดก็สมารถหลุดออกได้โดยง่ายนั่นเอง

 

แบบ Off Trail

มาทำความรู้จัก รองเท้าวิ่งเทรลกัน  กับ รองเท้าวิ่งถนนแตกต่างกันยังไง Run Trail Run รองเท้าเดินป่า ไต่เขา คุณสมบัติในการรับแรงกระแทก

photo : Runnercart

เป็นรองเท้าเทรลที่มีมาตรฐานขั้นต้นเหมือน Rugged Trail สามารถบุกป่าฝ่าดง ที่โหด ๆ ได้สบายมากแต่จะเพิ่มความพิเศษเข้าไปก็คือ ในส่วนของ Midsole นั้นจากเดิม เป็น อีวีเอ ก็จะเป็นการใช้วัสดุ พียู นั่นจึงทำให้แข็งแรงขึ้น รองรับการบิดได้มากขึ้น คืนตัวได้เยี่ยม ซึ่งรองเท้าเทรลแบบกันน้ำนั้นจะส่วนมากจะมีในประเภท Off Trail นี่เอง

 

คุณสมบัติในการรับแรงกระแทก แบ่งเป็น 4 ระดับ

เท้าเปล่า – เน้นความคล่องตัว เบาสบาย แต่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้มาก

แบบ รองรับแรงกระแทกได้น้อย – ป้องกันการกระแทกได้ไม่มาก ให้ความรู้สึกกับการวิ่งเท้าเปล่ามากที่สุด และสามารถวิ่งไปในเส้นทาง ที่อาจมีรากไม้ หรือหินแข็งได้

แบบรับแรงกระแทกได้สูงสุด – เป็นรองเท้าเทรล ที่รับแรงกระแทกได้ดีเยี่ยมป้องกันข้อต่อได้มาก ช่วยซับแรงได้ดีเมื่อต้องวิ่งยาว

 

การพิจารณาความหนา ( Drop ) ของพื้นรองเท้า

การเลือกพื้นรองเท้าเทรลนั้น อาจจะดูความหนาของรองเท้าที่เราใช้วิ่งในเส้นทางปกติ เพื่อไม่ทำให้รู้สึกผิดธรรมชาติมากนัก ส่วนนักวิ่งคนไหนที่อยากจะใช้ Drop ต่ำที่ให้ความรู้สึกเหมือนวิ่งเท้าเปล่านั้น ควรจะค่อย ๆ ลดขนาดไปจะดีกว่า เพื่อให้เวลาเท้ากับร่างกายมีเวลาปรับตัวและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ

การพิจารณาขนาดของรองเท้า

เพราะขนาดเท้าของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน การเลือกพิจารณาเรื่องขนาดนั้น ก็ต้องละเอียดอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความกว้าง ความยาว ของเท้า ลักษณะของฝ่าเท้า ความหนาของหลังเท้า บางคนนั้นเท้ามีปัญหาในเรื่องรูปทรง หรือมีปัญหาจากอาการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นนิ้วเท้าเอียง อาการรองช้ำ เรื่องเหล่านี้ก็ควรจะปรึกษาผู้รู้ หรือพนักงานขายของร้าน เพื่อที่อาจจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเข้าช่วยนั่นเอง โดยการไปเลือกซื้อหรือทดลองใส่นั้นก็ควรจะเป็นช่วงบ่าย หรือช่วงค่ำเพราะเท้าเราขยายตัวเต็ม เวลาลองใส่จะได้พอดีกับรองเท้า

 


คุณอาจสนใจสิ่งนี้

You may also like

Leave a Comment