ความแตกต่างเรื่องอาหาร และโภชนาการ ของนักวิ่งหญิง กับนักวิ่งชาย

by admin
ความแตกต่างเรื่องอาหาร และโภชนาการ ของนักวิ่งหญิง กับนักวิ่งชาย เรื่องอาหารหรือโภชนาการถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักวิ่ง

ความแตกต่างเรื่องอาหาร และโภชนาการ ของนักวิ่งหญิง กับนักวิ่งชาย

เรื่อง อาหาร หรือ โภชนาการ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักวิ่ง และนักกีฬา ไม่น้อยไปกว่าการฝึกซ้อมที่เข้มข้น หรือการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ โดยทุกอย่างต้องสอดประสานกันอย่างพอดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญแตกต่างออกไปในนักวิ่งหญิง กับนักวิ่งชายนั่นก็คือเรื่อง โภชนาการ หรือการรับประทานที่ถูกต้องนั่นเอง ไม่ใช่ว่าจะทานเหมือนกันได้หมด ในแง่ของประเภทอาหารอาจจะไม่มีความแตกต่างกัน แต่ในเรื่องของปริมาณของสารอาหารที่ได้รับนั้นต้องมีการเน้นที่ไม่เหมือนกัน

ความแตกต่างเรื่องอาหาร และโภชนาการ ของนักวิ่งหญิง กับนักวิ่งชาย

นั่นก็เป็นเพราะว่าในทางสรีรวิทยา ร่างกายของเพศหญิงจะมีไขมันมากกว่าเพศชาย ทำให้การใช้พลังงานของร่างกายไม่เหมือนกัน และหากมองไปถึงการวิ่งยังมีองค์ประกอบต่าง ๆเพิ่มเติมในทางสรีรวิทยาในเพศหญิง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องส่งผลทางด้านระดับพลังงาน การฟื้นตัว และประสิทธิภาพโดยรวมในการวิ่ง ระดับภูมิคุ้มกัน ฯลฯ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีประจำเดือนในวันที่ต้องแข่งขัน หรือฝึกซ้อมจึงต้องให้ความสำคัญใน เรื่องอาหาร และโภชนาการ เป็นพิเศษ จึงเป็นเหตุผลว่านักวิ่งหญิง ควรจะมีโภชนาการที่แตกต่างจากผู้ชาย

สิ่งที่นักวิ่งหญิงควรให้ความสำคัญในการรับประทานให้มากที่สุดก็คือ ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินดี

แคลเซียม – ที่ผู้หญิงต้องทานแคลเซียมใรปริมาณที่มากเพียงพอ ก็เป็นเพราะว่ามีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้กระดูก และข้อต่อต่าง ๆ มีความแข็งแรง นอกจากการทานแคลเซียมที่มากพอแล้วก็ควรงดทานอาหารที่มีส่วนไปยับยั้งแคลเซียม เช่น กาแฟ อาหารที่มีโซเดียมสูงรวมไปถึงออกซาเลต โดยประมาณแคลเซียมที่นักวิ่ง หรือนักกีฬาหญิงควรได้รับก็คือ ไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน เพื่อสุขภาพของกระดูก และข้อต่อที่แข็งแรง สมบูรณ์ที่สุด เพื่อรองรับการวิ่งที่หนักหน่วง

ธาตุเหล็ก – เป็นสารอาหารที่นักวิ่งหญิงไม่ควรขาดการบริโภค เพราะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดแดง ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน ยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจางอีกด้วย

วิตามินดี – วิตามินดีจะไปช่วยในเรื่องการดูดซับแคลเซียมที่มีผลต่อกระดูก นักกีฬาที่เสี่ยงต่อวิตามินดีต่ำก็คือ นักกีฬาในร่ม ผู้ที่มีผิวคล้ำ ผู้ที่ไม่ชอบออกแดด ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับก็คือ 50 นาโนโมลาร์ ต่อวัน

ดังนั้น นักวิ่งหญิงควรจะต้องให้ความสำคัญใน เรื่องโภชนาการ แตกต่างจากนักวิ่งชายอยู่พอสมควร เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพในการวิ่งอย่างแน่นอน เพื่อให้ร่างกายพร้อม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรื่องโภชนาการจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าการฝึกซ้อม หรือการพักผ่อนหากทุกอย่างรวมเข้ากันอยู่ในระดับที่พอดี สุขภาพร่างกายก็จะดีตามขึ้นไปอีกด้วย


You may also like

Leave a Comment