การปรับท่าวิ่งลดอาการบาดเจ็บ

by admin
การปรับท่าวิ่งลดอาการบาดเจ็บ การปรับท่าวิ่งนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่รู้สึกฝืน และรู้สึกไม่สบายในช่วงแรก นั่นก็เป็นเพราะความไม่เคยชิน

การปรับท่าวิ่งลดอาการบาดเจ็บ

ท่าวิ่งที่ดีที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการบาดเจ็บในนักวิ่งนั้นก็คือ ศีรษะต้องตั้งตรงกับลำตัวตามมองไปข้างหน้าตามเส้นทางที่จะวิ่งไป ไม่ก้มหน้าหรือเงยหน้า เพื่อให้กล้ามเนื้อที่คอไม่เกิดอาการเกร็ง ไม่ทิ้งน้ำหนักไปที่เอว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บริเวณหลังได้

ในส่วนของลำตัวนั้นให้ตั้งตรงโดยเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การตั้งตัวแอ่นเกร็ง การทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยให้ร่างกายมีความบาลานซ์ ยืดหยุ่นได้ดี ช่วยลดความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บแล้ว ยังช่วยให้นักวิ่งหายใจได้อย่างเต็มปอดซึ่งส่งผลให้ไม่เหนื่อยง่ายเกินไปอีกด้วย

ศอกควรทำมุม 90 องศาในขณะวิ่ง แขน และไหล่ ให้แกว่งอย่างเป็นธรรมชาติ สัมพันธ์กับเท้า ไม่ห่อไหล่ หรือยกไหล และโยกไปมาขณะที่วิ่ง

แขนและไหล่ แขนควรแกว่งให้บาลานซ์กับการก้าวเท้าขณะวิ่ง ตั้งศอกเป็นมุมประมาณ 90 องศา ไหล่ไม่ห่อ ไม่ยกสูง และไม่โยกเวลาวิ่ง

ช่วงล่าง ก็คือ หัวเข่า ข้อเท้า รวมไปถึงเท้า สำหรับเท้าให้ปลายชี้ไปข้างหน้าไม่บิดออกข้างนอก หรือข้างใน ไม่ส่ายไปมา ขณะลงเท้าต้องไม่กระแทกฝ่าเท้า ให้ส่วนส้นเท้าลงพื้นก่อน ตามด้วยส่วนของฝ่าเท้า แล้วค่อยลงปลายเท้า จะสังเกตได้ว่าเมื่อปลายเท้าถึงพื้น ส้นเท้าก็จะยกสูงขึ้น จังหวะนั้นก็ให้ออกแรงถีบตัวพุ่งไปข้างหน้า การลงเท้าของนักวิ่งหากลงผิดวิธีจะเสี่ยงให้เกิดอาการบาดเจ็บได้บริเวณข้อเท้าได้ สำหรับเข่านั้นไม่ควรยกสูงเกินไป และไม่เหยียดจนสุด (ก้าวขายาว) เมื่อเท้าลงพื้นควรปล่อยให้เข่าเป็นไปตามธรรมชาติสบาย ๆ ไม่เกร็ง ก็จะสามารถป้องกันอาการบาดเจ็บเข่าได้

การปรับท่าวิ่งนั้นสามารถช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้ก็จริง แต่ก็มีสิ่งอื่นที่เป็นองค์ประกอบด้วย นั้นก็คือการอบอุ่นร่างกาย หรือวอร์มอัพให้เพียงพอก่อนที่จะออกวิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดูก ทำให้ส่วนต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ควรเพิ่มความเร็ว หรือระยะทางมากจนเกินไป หากจะเพิ่มก็ไม่ควรมากกว่าที่เคยวิ่ง 10 % ต่อสัปดาห์ และเมื่อวิ่งเสร็จให้เดินคูลดาวน์ และยืดเหยียดเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด และไล่กลดแลคติกที่สะสมอยู่

การปรับท่าวิ่งนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่รู้สึกฝืน และรู้สึกไม่สบายในช่วงแรก นั่นก็เป็นเพราะความไม่เคยชินแต่หากค่อย ๆ ปรับไปสักระยะหนึ่งจนร่างกายจำก็จะเป็นไปเองตามธรรมชาติ หากเกิดอาการบาดเจ็บขณะวิ่งก็อย่าได้ฝืน ควรจะหยุดวิ่ง ซึ่งหลังจาก 72 ชั่วโมงอาการไม่ดีขึ้นก็ควรจะไปหาหมอ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี


You may also like

Leave a Comment