การกลับมาวิ่งหลังจากเป็นหวัด หรือป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง?

by admin
การกลับมาวิ่งหลังจากเป็นหวัด หรือป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง? นักวิ่งหลายคนพยายามชดเชยการออกกำลังกายที่พลาดไปในทันทีหลังจากที่หายจากอาการหวัด

การกลับมาวิ่งหลังจากเป็นหวัด หรือป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง?

นักวิ่งหลายคนพยายามชดเชยการออกกำลังกายที่พลาดไปในทันที หลังจากที่หายจากอาการหวัด หรือเป็นไข้ เพื่อที่จะได้ฝึกต่อจากที่ค้างไว้ แต่การเร่งรีบแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเพราะมันจะนำไปสู่ความเจ็บป่วยที่กลับมาอีกครั้ง รวมไปถึงอาการการบาดเจ็บ แม้ว่าการที่ร่างกายถูกบีบคั้นอย่างหนักหน่วงมากเกินไปจากการฝึกหนักเกิน ก็ไม่สามารถชดเชยการซ้อมที่พลาดไปได้

สิ่งที่ควรทำคือจัดตารางการฝึกใหม่ หากต้องการออกกำลังกายหลังจากป่วยหรือกลับไปวิ่งหลังจากเป็นหวัดก็ควรมีวิธีเริ่มต้นอย่างเหมาะสม เพราะร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่อการฝึกแตกต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มออกไปวิ่งอีกครั้ง หรือเริ่มวางแผนการฝึกซ้อมหลังจากที่ถูกป่วยควรพิจารณาสิ่งที่เรากำลังจะแนะนำดังต่อไปนี้ ด้วย 6 เคล็ดลับในการออกกำลังกายหลังเป็นหวัด หรือป่วย

  1. 2-3 เซสชันแรกวิ่งช้าลง และสั้นลง

หลังจากการฟื้นร่างกายจากหวัด การวิ่งให้ช้าลง และไม่ไกล จะช่วยให้รู้สึกดี อีกทั้งยังเป็นการปรับระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้เข้าที่ แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มระยะทาง และความเร็วเมื่อรู้สึกดีขึ้น

  1. ระยะเวลาที่คุณเป็นหวัด หรือป่วย = ระยะเวลาที่คุณต้องกลับมา

โดยพื้นฐานแล้ว ร่างกายของคนเราต้องการเวลาฟื้นตัวเท่ากันเพื่อวิ่งในระดับก่อนหน้าที่จะป่วย เนื่องจากจำเป็นต้องฟื้นตัว เช่นหากป่วย 3 วัน เมื่อหายแล้วก็ควรพักต่ออีก 3 วัน

  1. ใช้เวลาในการฟื้นตัว

ร่างกายที่ป่วยจะมีความอ่อนแอของคุณต้องใช้เวลาในการพักฟื้นที่เพิ่มขึ้น ต้องใช้เวลา และคุณไม่ควรกดดันตัวเองมากเกินไปในตอนเริ่มต้นกลับมาวิ่ง ฟังร่างกายของตัวเอง อย่าพึ่งเร่งตัวเองไปในระดับเดิมจนกว่าคุณจะรู้สึกฟิตและมีสุขภาพดี 100%

  1. ใช้เวลาในการปรับสภาพ

การปรับสภาพเพื่อให้ร่างกายกลับมาเหมือนเดิมก็อย่าลืมออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ และเสริมความแข็งแรงเป็นส่วนหนึ่งของการซ้อม สิ่งเหล่านี้สร้างพื้นฐานที่ดี ช่วยสร้างระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก

  1. ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ

หากอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าปกติในการวิ่งช่วงเซสชั่นแรก คุณควรลดความเข้มข้นของการฝึกลง และมีวันพักผ่อนเพิ่มเติมโดยไม่มีการฝึกซ้อม และทันทีที่ร่างกาย และระดับการเต้นของหัวใจตอบสนองตามปกติ คุณสามารถเพิ่มความเร็วและความถี่ในการวิ่งได้ ตามต้องการ

  1. ให้เวลาร่างกาย

ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และระดับความฟิตโดยรวมของคุณร่างกายของคุณต้องการเวลาที่แตกต่างกันเพื่อให้ไปถึงระดับประสิทธิภาพสูงสุดก่อนหน้าอาการป่วย การให้เวลาร่างกายจึงไม่เท่ากัน


You may also like

Leave a Comment